วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การศึกษากับสื่อมัลติมีเดีย


มัลติมีเดียหรือสื่อประสม เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแสดงข้อความเสียง และภาพ ซึ่งอาจจะเป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวได้พร้อมๆ กัน ถ้าอธิบายเพียงแค่นี้ก็คงนึกว่า มัลติมีเดีย ก็คงไม่แตกต่างไปจากเครื่องรับโทรทัศน์ ซึ่งก็สามารถแสดงข้อความ เสียง และภาพได้พร้อมๆ กัน ความแตกต่างจึงอยู่ที่ตัวคอมพิวเตอร์เพราะคอมพิวเตอร์นั้นทำให้ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับข้อความ ภาพ และเสียงที่เห็นและได้ยินได้ อีกนัยหนึ่งมัลติมีเดียมีสมรรถนะในการโต้ตอบ (Interactivity) ในขณะที่โทรทัศน์ไม่มีความสามารถนี้ เดิมทีนั้นการใช้คอมพิวเตอร์จำกัดอยู่แต่เพียงการคำนวณตัวเลขข้อมูลต่างๆ ต่อมาก็ได้ขยับขยายไปสู่การประมวลคำ (Word Processing) ซึ่งก็คือการพิมพ์เอกสารรายงาน จดหมายต่างๆ อันเป็นงานที่เราใช้มาจนกระทั่งทุกวันนี้ ต่อมาอีกก็มีผู้คิดนำภาพมาเก็บไว้เป็นข้อมูลเพื่อบรรณาธิกรภาพที่เก็บไว้นั้น เช่น นำภาพมาตัดต่อ ขยาย ย่อ เปลี่ยนสเกล ฯลฯ เมื่อนำมาผนวกกับงานประมวลคำก็ทำให้เกิดงานใหม่ที่เรียกว่า งานพิมพ์ตั้งโต๊ะ (Desktop Publishing) อันเป็นงานที่สำนักพิมพ์ทั้งหลายจำเป็นต้องนำมาใช้ มิฉะนั้นก็จะไม่สามารถแข่งกับผู้อื่นได้ ถัดจากภาพนิ่งสำหรับพิมพ์ ก็มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์สร้างเสียงต่างๆ รวมถึงเสียงดนตรี ในตอนแรกก็เป็นเสียงหยาบๆ ไม่น่าฟัง ต่อมาก็มีผู้พัฒนาแผ่นวงจรเสียงขึ้นใช้กับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถสร้างเสียงเครื่องดนตรีแบบต่างๆ ได้อย่างไพเราะ ในขณะเดียวกันก็มีผู้สนใจใช้คอมพิวเตอร์สร้างภาพเคลื่อนไหว (Animation) ขึ้นในคอมพิวเตอร์ด้วย

:: สื่อการสอน ::
สื่อการสอน (Instructional Media) หมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ แผนภูมิ ภาพนิ่ง ฯลฯ ซึ่งบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับผู้สอนส่งไปถึงผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้ได้เป็นอย่างดีเอดการ์ เดล (Edgar Dale) ได้จัดแบ่งสื่อการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ ในขณะเดียวกันก็เป็นการแสดงขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้ และการใช้สื่อแต่ละประเภทในกระบวนการเรียนรู้ด้วย โดยพัฒนาความคิดของ Bruner ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา นำมาสร้างเป็น "กรวยประสบการณ์" (Cone of Experiences) โดยแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้
1. ประสบการณ์ตรง โดยการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากของจริง เช่น การจับต้อง และการเห็น เป็นต้น
2. ประสบการณ์รอง เป็นการเรียนโดยให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นการจำลองก็ได้
3.ประสบการณ์นาฏกรรม หรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละคร เนื่องจากข้อจำกัดด้วยยุคสมัยเวลา และสถานที่ เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ หรือเรื่องราวที่เป็นนามธรรม เป็นต้น4. การสาธิต เป็นการแสดงหรือการทำเพื่อประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น
5. การศึกษานอกสถานที่ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ต่างๆ ภายนอกสถานที่เรียน อาจเป็นการเยี่ยมชมสถานที่ การสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ เป็นต้น
6. นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ เพื่อให้สาระประโยชน์แก่ผู้ชม โดยการนำประสบการณ์หลายอย่างผสมผสานกันมากที่สุด
7. โทรทัศน์ โดยใช้ทั้งโทรทัศน์การศึกษา และโทรทัศน์การสอนเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้าน
8. ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวลงบนฟิลม์เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งภาพ และเสียงโดยใช้ประสาทตา และหู
9. การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง อาจเป็นทั้งในรูปของแผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง วิทยุ รูปภาพ สไลด์ ข้อมูลที่อยู่ในขั้นนี้จะให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียน ที่ถึงแม้จะอ่านหนังสือไม่ออกแต่ก็จะสามารถเข้าใจเนื้อหาได้
10. ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนที่ แผนภูมิ หรือเครื่องหมายต่าง ๆ ที่เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งของต่าง ๆ
11. วจนสัญลักษณ์ ได้แก่ตัวหนังสือในภาษาเขียน และเสียงพูดของคนในภาษาพูด

สื่อการสอนไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม ผู้สอนอาจจะใช้สื่อครั้งละชนิดเดียว หรืออาจจะใช้สื่อหลาย ๆ ชนิดร่วมกันในลักษณะของ สื่อประสม หรือสื่อมัลติมีเดีย (Multimedia) ก็ได้ แต่สื่อการสอนจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อมีการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม ซึ่งมีหลักการพิจารณา ดังนี้
1. สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียน และจุดมุ่งหมายที่จะสอน
2. เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ และเป็นสื่อที่ส่งผลต่อการเรียนรู้มากที่สุด
3. เป็นสื่อที่เหมาะกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน
4. สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้ วิธีใช้ไม่ยุ่งยากซับซ้อนเกินไป
5. ป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจนเป็นจริง
6. มีราคาไม่แพงเกินไป หรือถ้าจะผลิตควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน

วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

มิตรภาพ



ไหล่ของฉัน . . . มันไม่ได้มีความหมายเพียงเพื่อ

ประคองหัวฉันไว้คนเดียวเท่านั้น

แต่เพื่อ สามารถใช้มันเพื่อประคองหัวเพื่อนได้ด้วย

เสื้อของฉัน . . . ไม่ได้มีไว้ห้อหุ้มร่างกายของฉันเพียงอย่างเดียว

มันพร้อมจะเป็นที่เช็ดน้ำตา และที่สั่งขี้มูกของเพื่อนถ้าเพื่อนต้องการ

แขนของฉัน . . . ไม่ได้มีไว้จูงหมาเดินเล่น

แต่มัน สามารถใช้ประคองเพื่อนเมื่อเพื่อนจะล้ม

แต่ถ้าเพื่อนล้มลงไปแล้ว . . .

ฉันก็ยังมีมืออีก 1 คู่ไว้ช่วยฉุดเพื่อนขึ้นมา

ปากของฉัน . . . ไม่ได้มีไว้เพื่อกินและพูดพล่ามทั้งวันหรอกนะ

แต่มีไว้พูดให้กำลังใจเพื่อนด้วยเมื่อถึงเวลาจำเป็น

ตาของฉัน . . . มีไว้เพียงเพื่อกระพริบขึ้นลงเสียเมื่อไหร่

ฉันเอาไว้ใช้มัน มองสิ่งดีๆในตัวเพื่อนด้วยต่างหาก

ฟันของฉัน . . . ก็ไม่ได้มีไว้กัดใครๆเขา

แต่มีไว้เพื่อจะใช้มันประดับเหงือก ทุกครั้งฉันยิ้มให้เพื่อน

หูของฉัน . . . ก็ไม่ได้มีไว้เพื่อเจาะรูแขวนเครื่องประดับ

แต่มันใช้ฟังเพื่อน เมื่อเพื่อนต้องการระบายอะไรออกมาให้ฉันฟัง

เท้าของฉัน . . . ไม่ได้มีไว้สะสมกลิ่น... โอเค ถึงแม้มันอาจจะมีบ้าง

แต่ฉันจะใช้เท้า เพื่อเดินอยู่ข้างๆเพื่อนนี่แหละ จะไม่ไปไหนไกล

สมองของฉัน . . . อาจไม่ค่อยมีประโยชน์เวลาสอบนักก็จริง

แต่มันจะทำงานหนัก เมื่อเพื่อนต้องการความช่วยเหลือ

ส่วนพวกตับ ไต ไส้ กระเพาะ ม้าม เซี่ยงจี๊ ของฉัน . . .

มันมีไว้ทำหน้าที่ของมันน่ะ

แต่ถ้าเพื่อนต้องการอย่างรีบด่วน

ฉันยินดีสละให้ (อย่างละครึ่งเท่านั้นนะ!!)